son2554 v1.1.016
เว็บv1.3.016 นะครับ วันที่21/11/53 ติดต่อ son2553@live.com
son2554 v1.1.016
เว็บv1.3.016 นะครับ วันที่21/11/53 ติดต่อ son2553@live.com
son2554 v1.1.016
Would you like to react to this message? Create an account in a few clicks or log in to continue.
son2554 v1.1.016

อัพสิ่งใหม่กับrebornอยู่เสมอสดๆกันที่นี่ซับไทยและคลิป
 
บ้านPortalGalleryค้นหาLatest imagesห้องแซทเล่นเกมได้ที่นี่สมัครสมาชิก(Register)เข้าสู่ระบบ(Log in)
กิจกรรมจะมีวันไหนโปรดดูที่หน้าเว็บนะครับ"หน้าแรก"
ข้อมูลกีฬาตะกร้อ I8tzpเวอร์ชั่นv.1.3.016 อัพสิ่งต่างๆและปรับปรุงเว็บวันที่ 21/11/53 เวลา15.00น.-16.00น. อัพเดท20-25/11/53นี้
วันที่25-30ไม่อยู่
เข้าสู่ระบบ(Log in)
Username:
Password:
เข้าสู่ระบบโดยอัตโนมัติทุกครั้ง(Log in automatically): 
:: ลืม(forget) password
Latest topics

 

 ข้อมูลกีฬาตะกร้อ

Go down 
3 posters
ผู้ตั้งข้อความ
ADMIN
Admin
Admin
ADMIN


Join date : 12/08/2010
จำนวนข้อความ : 530
ที่อยู่ : อยู่ใกล้ๆทุกคนนั่นแหละ

Character sheet
HP:
ข้อมูลกีฬาตะกร้อ Left_bar_bleue100000/100000ข้อมูลกีฬาตะกร้อ Empty_bar_bleue  (100000/100000)

ข้อมูลกีฬาตะกร้อ Empty
ตั้งหัวข้อเรื่อง: ข้อมูลกีฬาตะกร้อ   ข้อมูลกีฬาตะกร้อ EmptySun Nov 28, 2010 6:58 pm

ประวัติตะกร้อ ประวัติตะก้อ ประวัติตะกร้อไทย

ประวัติตะกร้อ
ตะกร้อ
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
การแข่งขันตะกร้อตะกร้อ เป็นการละเล่นของไทยมาแต่โบราณ แต่ไม่มีหลักฐานแน่นอนว่ามีมาตั้งแต่สมัยใด แต่คาดว่าราว ๆ ต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ประเทศอื่นที่ใกล้เคียงก็มีการเล่นตะกร้อ คนเล่นไม่จำกัดจำนวน เล่นเป็นหมู่หรือเดี่ยวก็ได้ ตามลานที่กว้างพอสมควร ตะกร้อที่ใช้เดิมใช่หวายถักเป็นลูกตะกร้อ ปัจจุบัน นิยมใช้ลูกตะกร้อพลาสติก
การเตะตะกร้อเป็นการเล่นที่ผู้เล่นได้ออกกำลังกายทุก**ส่วน ฝึกความว่องไว ความสังเกต มีไหวพริบ ทำให้มีบุคลิกภาพดี มีความสง่างาม และการเล่นตะกร้อนับได้ว่าเป็นเอกลักษณ์ของไทยอย่างหนึ่ง


ลักษณะการเล่น

ตะกร้อพลาสติกการเล่นตะกร้อสามารถเล่นได้หลายแบบ ดังนี้
การเล่นเป็นทีม ผู้เล่นจะล้อมเป็นวง ผู้เริ่มต้นจะใช้เท้าเตะลูกตะกร้อไปให้อีกผู้หนึ่งรับ ผู้รับจะต้องมีความว่องไวในการใช้เท้ารับและเตะส่งไปยังอีกผู้หนึ่ง จึงเรียกวิธีเล่นนี้ว่า "เตะตะกร้อ" ความสนุกอยู่ที่การหลอกล่อที่จะเตะไปยังผู้ใด ถ้าผู้เตะทั้งวงมีความสามารถเสมอกัน จะโยนและรับไม่ให้ตะกร้อถึงพื้นได้เป็นเวลานานมาก กล่าวกันว่าทั้งวันหรือทั้งคืนก็ยังมี แต่ผู้เล่นยังไม่ชำนาญก็โยนรับได้ไม่กี่ครั้ง ลูกตะกร้อก็ตกถึงพื้น
การติดตะกร้อ(เล่นเดี่ยว) การเล่นตะกร้อที่มีชื่อเสียงมากของไทยคือ การติดตะกร้อ เป็นศิลปะการเล่นตะกร้อ คือ เตะตะกร้อให้ไปติดอยู่ที่ส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย และต้องถ่วงน้ำหนักให้อยู่นาน แล้วใช้อวัยวะส่วนนั้นส่งไปยังส่วนอื่น โดยไม่ให้ตกถึงพื้น เช่น การติดตะกร้อที่หลังมือ ข้อศอก หน้าผาก จมูก เป็นต้น นับว่าเป็นศิลปที่น่าชม ผู้เล่นต้องฝึกฝนอย่างมาก
ตะกร้อติดบ่วง การเตะตะกร้อติดบ่วง ใช้บ่วงกลมๆแขวนไว้ให้สูงสุด แต่ผู้เล่นจะสามารถเตะให้ลอดบ่วงไปยังผู้อื่นได้ กล่าวกันว่าบ่วงที่เล่นเคยสูงสุดถึง 7 เมตร และยิ่งเข้าบ่วงจำนวนมากเท่าไรยิ่งแสดงถึงความสามารถ
ท่าเตะ
ท่าเตะตะกร้อมีหลายท่าที่แสดงให้เห็นถึงความงดงามและความว่องไว ตามปกติจะใช้หลังเท้า แต่นักเล่นตะกร้อจะมีวิธีเตะที่พลิกแพลง ใช้หน้าเท้า เข่า ไขว้ขา(เรียกว่าลูกไขว้) ไขว้ขาหน้า ไขว้ขาหลัง ศอก ข้อสำคัญ คือ ความเหนียวแน่นที่ต้องรับลูกให้ได้เป็นอย่างดีเมื่อลูกมาถึงตัว ผู้เล่นมักฝึกการเตะตะกร้อด้วยท่าต่าง ๆ ลีลาในการเตะตะกร้อมี 4 แบบ คือ การเตะเหนียวแน่น (การรับให้ได้อย่างดี) การเตะแม่นคู่ (การโต้ตรงคู่) การเตะดูงามตา (ท่าเตะสวย มีสง่า) การเตะท่ามาก (เตะได้หลายท่า)
---------------------------------------------------------------------
ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับตะกร้อ
ในการค้นคว้าหาหลักฐานเกี่ยวกับแหล่งกำเนิดการกีฬาตะกร้อในอดีตนั้น ยังไม่สามารถหาข้อสรุปได้อย่างชัดเจนว่ากีฬาตะกร้อนั้นกำเนิดจากที่ใด จากการสันนิษฐานคงจะได้หลายเหตุผลดังนี้
ประเทศพม่า เมื่อประมาณ พ.ศ. 2310 พม่ามาตั้งค่ายอยู่ที่โพธิ์สามต้น ก็เลยเล่นกีฬาตะกร้อกัน ซึ่งทางพม่าเรียกว่า "ชิงลง"

ทางมาเลเซียก็ประกาศว่า ตะกร้อเป็นกีฬาของประเทศมาลายูเดิมเรียกว่า ซีปักรากา (Sepak Raga) คำว่า Raga หมายถึง ตะกร้า

ทางฟิลิปปินส์ ก็นิยมเล่นกันมานานแล้วแต่เรียกว่า Sipak
ทางประเทศจีนก็มีกีฬาที่คล้ายกีฬาตะกร้อแต่เป็นการเตะตะกร้อชนิดที่เป็นลูกหนังปักขนไก่ ซึ่งจะศึกษาจากภาพเขียนและพงศาวดารจีน ชาวจีนกวางตุ้งที่เดินทางไปตั้งรกรากในอเมริกาได้นำการเล่นตะกร้อขนไก่นี้ไปเผยแพร่ แต่เรียกว่าเตกโก (Tek K'au) ซึ่งหมายถึงการเตะลูกขนไก่
ประเทศเกาหลี ก็มีลักษณะคล้ายกับของจีน แต่ลักษณะของลูกตะกร้อแตกต่างไป คือใช้ดินเหนียวห่อด้วยผ้าสำลีเอาหางไก่ฟ้าปัก
ประกาศไทยก็นิยมเล่นกีฬาตะกร้อมายาวนาน และประยุกต์จนเข้ากับประเพณีของชนชาติไทยอย่างกลมกลืนและสวยงามทั้งด้านทักษะและความคิด

กติกาตะกร้อ เซปักตะกร้อ
1.ผู้เล่น
ประเภทเดี่ยว มีผู้เล่นตัวจริง 3 คน สำรอง 1 คน ประเภททีม ประกอบด้วย 3 ทีม มีผู้เล่น 9 คน และผู้เล่นสำรอง 3 คน2. ตำแหน่งของผู้เล่น มี 3 ตำแหน่งคือ
2.1 หลัง ( Back ) เป็นผู้เตะตะกร้อจากวงกลม
2.2 หน้าซ้าย
2.3 หน้าขวา
3. การเปลี่ยนตัวผู้เล่น
ในทีมเดี่ยวเปลี่ยนตัวได้ 1 คน และถ้าเหลือน้อยกว่า 3 คน ถือว่าแพ้ ผู้มีชื่อในทีมเดี่ยวที่เล่นมานานแล้ว จะลงเล่นในทีมเดี่ยวต่อไปไม่ได้
4. การเสี่ยงและการอบอุ่นร่างกาย
มีการเสี่ยง ผู้ชนะการเสี่ยงจะได้เลือกข้างหรือส่งลูก ทีมที่ได้ส่งลูกจะได้อบอุ่นร่างกายก่อน เป็นเวลา 2 นาที พร้อมเจ้าหน้าที่และนักกีฬาไม่เกิน 5 คน
5. ตำแหน่งของผู้เล่นระหว่างการส่งลูกเสิร์ฟ
เมื่อเริ่มเล่นทั้ง 2 ทีมพร้อมในแดนของตนเอง ผู้เล่นฝ่ายเสิร์ฟจะต้องอยู่ในวงกลมของตนเอง เมื่อเสิร์ฟแล้วจึงเคลื่อนที่ได้ ส่วนผู้เล่นฝ่ายรับจะยืนที่ใดก็ได้
6. การเปลี่ยนส่ง
ให้เปลี่ยนการส่งลูกเมื่อฝ่ายส่งลูกผิดกติกา หรือ ฝ่ายรับทำลูกให้ตกบนพื้นที่ของฝ่ายส่งได้
7. การขอเวลานอก
ขอได้เซตละ 1 ครั้งๆ ละ 1 นาที
8. การนับคะแนน
การแข่งขันใช้แบบ 2 ใน 3 เซต ในเซตที่ 1 และเซตที่ 2 จะมีคะแนนสูงสุด 15 คะแนน ทีมใดได้ 15 คะแนนก่อน จะเป็นผู้ชนะในเซตนั้นๆ ทั้ง 2 เซต จะไม่มีดิวส์ หากทั้งสองทีมได้ 13 ก่อน หรือ 14 เท่ากัน พักระหว่างเซต 2 นาที ถ้าเสมอกัน 1:1 เซต ให้ทำการแข่งขันเซตที่ 3 ด้วยไทเบรก โดยเริ่มด้วยการเสี่ยงใหม่ โดยใช้คะแนน 6 คะแนน ทีมใดได้ 6 คะแนนก่อนเป็นผู้ชนะ แต่จะต้องแพ้ชนะอย่างน้อย 2 คะแนน ถ้ายังไม่แพ้กันไม่น้อยกว่า 2 คะแนน ก็ให้ทำการแข่งขันอีก 2 คะแนน แต่ไม่เกิน 8 คะแนน เช่น 8:6 หทรือ 8:7 ถือเป็นการยุติการแข่งขันระบบไทเบรก เมื่อฝ่ายใดก็ตามได้ 3 คะแนน และขอเวลานอกได้เซตละ 1 ครั้ง ครั้งละ 1 นาที สำหรับไทเบรก ขอเวลาได้ 1 ครั้ง ครั้งละ 30 วินาที

แนะนำการดูตะกร้อ
มารยาทในการเล่นที่ดี
การเล่นกีฬาทุกชนิด ผู้เล่นจะต้องมีมารยาทในการเล่นและการแข่งขัน ประพฤติปฎิบัติตนให้เป็นไปตามขั้นตอนของการเล่นกีฬาแต่ละประเภท จึงจะนับว่าเป็นผู้เล่นที่ดีและมีมารยาท ผู้เล่นควรต้องมีมารยาทดังนี้ คือ
1. การแสดงความยินดี ชมเชยด้วยการปรบมือหรือจับมือเมื่อเพื่อนเล่นได้ดี แสดงความเสียใจเมื่อตนเอง หรือเพื่อนร่วมทีมเล่นผิดพลาดและพยามปลอบใจเพื่อน ตลอดจนปรับปรุงการเล่นของตัวเองให้ดีขึ้น
2. การเล่นอย่างสุภาพและเล่นอย่างนักกีฬา การแสดงกิริยาท่าทางการเล่นต้องให้เหมาะสมกับการเป็นนักกีฬาที่ดี
3. ผู้เล่นที่ดีต้องไม่หยิบอุปกรณ์ของผู้อื่นมาเล่นโดยพลการ
4. ไม่ว่าจะชนะหรือแพ้ต้องไม่แสดงอาการดีใจหรือเสียใจจนเกินไป
5. ผู้เล่นต้องเชื่อฟังคำตัดสินของกรรมการ หากไม่พอใจคำตัดสินก็ยื่นประท้วงตามกติกา
6. ผู้เล่นต้องควบคุมอารมณ์ให้สุขุมอยู่ตลอดเวลา
7. ก่อนการแข่งขันหรือหลังการแข่งขัน ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายแพ้หรือชนะก็ตาม ควรจะต้องจับมือแสดงความยินดี
8. หากมีการเล่นผิดพลาด จะต้องกล่าวคำขอโทษทันทีและต้องกล่าวให้อภัยเมื่อฝ่ายตรงข้ามกล่าวขอโทษด้วยความยิ้มแย้มแจ่มใส
9. ต้องแต่งกายรัดกุม สุภาพ ถูกต้องตามกติกาที่กำหนดไว้
10. ไม่ส่งเสียงเอะอะในขณะเล่นหรือแข่งขันจนทำให้ผู้เล่นอื่นเกิดความรำคาญ
11. ต้องปฏิบัติตามกฎข้อบังคับตามกติกาอย่างเคร่งครัด
12. มีความอดทนต่อการฝึกซ้อมและการเล่น
13. หลังจากฝึกซ้อมแล้วต้องเก็บอุปกรณ์ให้เรียบร้อย
14. เล่นและแข่งขันด้วยชั้นเชิงของนักกีฬา รู้แพ้ รู้ชนะ รู้อภัย ในการเล่นกีฬา
มารยาทของผู้ชมที่ดี
1. ปรบมือให้นักกีฬาและผู้ตัดสินเมื่อเขาดินลงสนาม
2. ปรบมือแสดงความยินดีเมื่อผู้เล่นเล่นได้ดี หรือชนะการแข่งขัน
3. นั่งชมด้วยความสงบเรียบร้อยไม่ส่งเสียงเอะอะ
4. ไม่แสดงท่าทางยั่วยุให้ผู้เล่นขาดสมาธิ
5. ไม่ใช้เสียงเพลงที่มีเนื้อหาหยาบคาย สร้างความแตกแยก
6. อย่าแสดงกิริยาไม่สุภาพหรือใช้วัสดุสิ่งของขว้างปาลงสนาม นักกีฬา หรือกรรมการ
7. ผู้ดูต้องยอมรับการตัดสินของผู้ตัดสิน
8. ไม่ส่งเสียงโห่ร้องหรือแสดงกิริยาเย้ยหยัน เมื่อผู้เล่นเล่นผิดพลาดหรือผู้ตัดสินผิดพลาด
9. ผู้ดูควรเรียนรู้กติกาการแข่งขันกีฬาชนิดนั้นๆ พอสมควร
10. ให้ความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ เมื่อเกิดเหตุการณ์วุ่นวายขึ้นในสนามแข่งขัน
11. สนับสนุนให้กำลังใจและให้เกียรตินักกีฬาทุกประเภทเพื่อเป็นการส่งเสริมการกีฬาของชาติ
ตะกร้อ : แนะนำอุปกรณ์ตะกร้อ - กติกา การเล่นตะกร้อ


1. สนาม
ยาว 13.40 เมตร กว้าง 6.10 เมตร เพดานสูง 8.00 เมตร มีเส้นแบ่งแดนออกเป็น 2 ส่วนเท่ากัน มีเส้นครึ่งวงกลมทั้ง 2 แดน รัศมี 30 ซม. เสาสูง 1.55 เมตร ( เยาวชนอายุไม่เกิน 12 ปี ) และทีมหญิงเสาสูง 1.45 เมตร ตาข่ายกว้าง 70 ซม. ตรงกลางของตาข่ายสูงจากพื้นไม่น้อยกว่า 1.52 เมตร ( เยาวชน 1.42 เมตร )

2. ลูกตะกร้อ
ทรงกลม มีเส้นรอบวง 42 - 44 ซม. มี 12 รูกับ 20 จุดไขว้ตัด ทำด้วยหวายหรือใบสังเคระห์ ถ้าเป็นหวายต้องมี 9 - 11 เส้น น้ำหนัก 170 - 180 กรัม

3. เครื่องแต่งกาย
สวมเสื้อยืด กางเกงขาสั้น ต้องเอาชายเสื้อไว้ในกางเกงตลอดเวลา ห้ามใช้อุปกรณ์ช่วยในการเคลื่อนไหว และการเร่งความเร็วของลูกตะกร้อ หัวหน้าทีมต้องใส่ปลอกแขนที่แขนเสื้อด้านซ้าย ติดหมายเลขด้านหลัง 1 - 15
กติกาตะกร้อ


1.ผู้เล่น
ประเภทเดี่ยว มีผู้เล่นตัวจริง 3 คน สำรอง 1 คน ประเภททีม ประกอบด้วย 3 ทีม มีผู้เล่น 9 คน และผู้เล่นสำรอง 3 คน

2. ตำแหน่งของผู้เล่น มี 3 ตำแหน่งคือ
2.1 หลัง ( Back ) เป็นผู้เตะตะกร้อจากวงกลม
2.2 หน้าซ้าย
2.3 หน้าขวา

3. การเปลี่ยนตัวผู้เล่น
ในทีมเดี่ยวเปลี่ยนตัวได้ 1 คน และถ้าเหลือน้อยกว่า 3 คน ถือว่าแพ้ ผู้มีชื่อในทีมเดี่ยวที่เล่นมานานแล้ว จะลงเล่นในทีมเดี่ยวต่อไปไม่ได้

4. การเสี่ยงและการอบอุ่นร่างกาย
มีการเสี่ยง ผู้ชนะการเสี่ยงจะได้เลือกข้างหรือส่งลูก ทีมที่ได้ส่งลูกจะได้อบอุ่นร่างกายก่อน เป็นเวลา 2 นาที พร้อมเจ้าหน้าที่และนักกีฬาไม่เกิน 5 คน

5. ตำแหน่งของผู้เล่นระหว่างการส่งลูกเสิร์ฟ
เมื่อเริ่มเล่นทั้ง 2 ทีมพร้อมในแดนของตนเอง ผู้เล่นฝ่ายเสิร์ฟจะต้องอยู่ในวงกลมของตนเอง เมื่อเสิร์ฟแล้วจึงเคลื่อนที่ได้ ส่วนผู้เล่นฝ่ายรับจะยืนที่ใดก็ได้

6. การเปลี่ยนส่ง
ให้เปลี่ยนการส่งลูกเมื่อฝ่ายส่งลูกผิดกติกา หรือ ฝ่ายรับทำลูกให้ตกบนพื้นที่ของฝ่ายส่งได้

7. การขอเวลานอก
ขอได้เซตละ 1 ครั้งๆ ละ 1 นาที

8. การนับคะแนน
การแข่งขันใช้แบบ 2 ใน 3 เซต ในเซตที่ 1 และเซตที่ 2 จะมีคะแนนสูงสุด 15 คะแนน ทีมใดได้ 15 คะแนนก่อน จะเป็นผู้ชนะในเซตนั้นๆ ทั้ง 2 เซต จะไม่มีดิวส์ หากทั้งสองทีมได้ 13 ก่อน หรือ 14 เท่ากัน พักระหว่างเซต 2 นาที ถ้าเสมอกัน 1:1 เซต ให้ทำการแข่งขันเซตที่ 3 ด้วยไทเบรก โดยเริ่มด้วยการเสี่ยงใหม่ โดยใช้คะแนน 6 คะแนน ทีมใดได้ 6 คะแนนก่อนเป็นผู้ชนะ แต่จะต้องแพ้ชนะอย่างน้อย 2 คะแนน ถ้ายังไม่แพ้กันไม่น้อยกว่า 2 คะแนน ก็ให้ทำการแข่งขันอีก 2 คะแนน แต่ไม่เกิน 8 คะแนน เช่น 8:6 หทรือ 8:7 ถือเป็นการยุติการแข่งขันระบบไทเบรก เมื่อฝ่ายใดก็ตามได้ 3 คะแนน และขอเวลานอกได้เซตละ 1 ครั้ง ครั้งละ 1 นาที สำหรับไทเบรก ขอเวลาได้ 1 ครั้ง ครั้งละ 30 วินาที
ลักษณะการเล่นรูปแบบอื่น


ตะกร้อหวาย
การเล่นตะกร้อยังสามารถเล่นได้หลายแบบ ดังนี้
• การเล่นเป็นทีม ผู้เล่นจะล้อมเป็นวง ผู้เริ่มต้นจะใช้เท้าเตะลูกตะกร้อไปให้อีกผู้หนึ่งรับ ผู้รับจะต้องมีความว่องไวในการใช้เท้ารับและเตะส่งไปยังอีกผู้หนึ่ง จึงเรียกวิธีเล่นนี้ว่า "เตะตะกร้อ" ความสนุกอยู่ที่การหลอกล่อที่จะเตะไปยังผู้ใด ถ้าผู้เตะทั้งวงมีความสามารถเสมอกัน จะโยนและรับไม่ให้ตะกร้อถึงพื้นได้เป็นเวลานานมาก กล่าวกันว่าทั้งวันหรือทั้งคืนก็ยังมี แต่ผู้เล่นยังไม่ชำนาญก็โยนรับได้ไม่กี่ครั้ง ลูกตะกร้อก็ตกถึงพื้น
• การติดตะกร้อ (เล่นเดี่ยว) การเล่นตะกร้อที่มีชื่อเสียงมากของไทยคือ การติดตะกร้อ เป็นศิลปะการเล่นตะกร้อ คือ เตะตะกร้อให้ไปติดอยู่ที่ส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย และต้องถ่วงน้ำหนักให้อยู่นาน แล้วใช้อวัยวะส่วนนั้นส่งไปยังส่วนอื่น โดยไม่ให้ตกถึงพื้น เช่น การติดตะกร้อที่หลังมือ ข้อศอก หน้าผาก จมูก เป็นต้น นับว่าเป็นศิลปที่น่าชม ผู้เล่นต้องฝึกฝนอย่างมาก
• ตะกร้อติดบ่วง การเตะตะกร้อติดบ่วง ใช้บ่วงกลมๆแขวนไว้ให้สูงสุด แต่ผู้เล่นจะสามารถเตะให้ลอดบ่วงไปยังผู้อื่นได้ กล่าวกันว่าบ่วงที่เล่นเคยสูงสุดถึง 7 เมตร และยิ่งเข้าบ่วงจำนวนมากเท่าไรยิ่งแสดงถึงความสามารถ


รูปหาใส่เองนะเว็บอื่นอะครับ
ขึ้นไปข้างบน Go down
https://son2553.thai-forum.net
johnny
Class 2 level14
Class 2  level14
johnny


Join date : 29/10/2010
จำนวนข้อความ : 1337
ที่อยู่ : ???

ข้อมูลกีฬาตะกร้อ Empty
ตั้งหัวข้อเรื่อง: Re: ข้อมูลกีฬาตะกร้อ   ข้อมูลกีฬาตะกร้อ EmptySun Nov 28, 2010 7:15 pm

ขอบคุณครับ
ขึ้นไปข้างบน Go down
oneza0230
vip
vip
oneza0230


Join date : 22/11/2010
จำนวนข้อความ : 395
ที่อยู่ : นามิโมริ

Character sheet
HP:
ข้อมูลกีฬาตะกร้อ Left_bar_bleue100000/100000ข้อมูลกีฬาตะกร้อ Empty_bar_bleue  (100000/100000)

ข้อมูลกีฬาตะกร้อ Empty
ตั้งหัวข้อเรื่อง: Re: ข้อมูลกีฬาตะกร้อ   ข้อมูลกีฬาตะกร้อ EmptySun Nov 28, 2010 10:52 pm

ขอบคุณนะครับ
ขึ้นไปข้างบน Go down
 
ข้อมูลกีฬาตะกร้อ
ขึ้นไปข้างบน 
หน้า 1 จาก 1

Permissions in this forum:คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
son2554 v1.1.016 :: TALK ROOM :: ความรู้ต่างๆ-
ไปที่: